อุปกรณ์ มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer) จึงเข้ามามีบทบาทเนื่องจากสามารถรวมสัญญาณจากหลายแหล่งเข้ามาใช้งานผ่านสาย สื่อสารเพียงเส้นเดียว นั่นคือที่เครื่องโฮสต์อาจมีพอร์ตเพียงหนึ่งพอร์ตเท่านั้น โดยมีมัลติเพล็กเซอร์ฝังอยู่ภายในตัวเครื่อง แต่สามารถควบคุมเครื่องเทอร์มินอลได้มากมาย
1.1 หลักการทำงานของมัลติเพล็กเซอร์มัลติเพล็กเซอร์หรือเรียกสั้น ๆ ว่า มักซ์ (MUX) เป็นอุปกรณ์ที่รวบรวมสัญญาณจากสายสื่อสารหลายเส้นเข้าด้วยกันเพื่อส่งออกทาง สายสื่อสารเพียงเส้นเดียว ช่องสัญญาณในสายเส้นที่ส่งออกจากมักซ์จะถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ เพื่อแบ่งปันในการส่งสัญญาณที่รับเข้ามาจากสายสื่อสารเส้นต่าง ๆ มักซ์จะทำงานเป็นคู่เหมือนกับโมเด็มคือจะต้องมีมักซ์ที่ผู้ส่งหนึ่งตัวและ อีกหนึ่งตัวอยู่ทางฝั่งผู้รับ ข้อมูลที่รับเข้ามาจากสายสื่อสารทางฝั่งผู้ส่งจะถูกเข้ารหัสแล้วนำมารวมกัน เพื่อส่งออกไป มักซ์ที่อยู่ทางฝั่งผู้รับจะถอดรหัสข้อมูลเพื่อส่งออกไปยังสายสื่อสารเส้น ที่ถูกต้อง (สัลยุทธ์ สว่างวรรณ, 2544, 59)
ภาพแสดงการใช้มัลติเพล็กเซอร์บน ระบบเครือข่าย
การรวมข้อมูลจากสายสื่อสารหลายเส้นเข้าด้วย กัน ทำให้เกิดประโยชน์ขึ้นหลายประการคือ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้สายสื่อสารให้คุ้มค่าเนื่องจากอุปกรณ์เพียงชิ้นเดียว อาจไม่ได้ใช้ประโยชน์ของสายสื่อสารเส้นนั้นอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะเทอร์มินอลทั่วไปจะทำงานเป็นพัก ๆ (Burst Mode) เวลาส่วนใหญ่จึงไม่มีข้อมูลส่งผ่านสายสื่อสาร การรวมสัญญาณจากหลายแหล่งเข้าด้วยกันเป็นการ รับประกันว่าจะมีข้อมูลส่งผ่านสายสัญญาณนี้มากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ได้มากเพราะใช้สายสื่อสารเพียงเส้นเดียวเท่านั้น สำหรับเทอร์มินอลหลายเครื่องแทนที่จะต้องใช้สายหนึ่งเส้นต่อเทอร์มินอลหนึ่ง เครื่อง
แม้ว่ามักซ์สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมากในระบบ เครือข่ายเฉพาะบริเวณ แต่มักซ์กลับถูกนำไปใช้บนระบบเครือข่ายวงกว้างมากกว่า ซึ่งจะใช้กับโครงสร้างการเชื่อมต่อแบบ จุด-ต่อ-จุดระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง เนื่องจากการรวบรวมสัญญาณจากหลายแหล่งเข้าด้วยกันเพื่อส่งออกทางสายสัญญาณ เพียงเส้นเดียวเป็นการทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้โดยตรง จึงกลายเป็นส่วนที่ผู้ใช้มองไม่เห็น
ดังนั้นความรู้สึกของผู้ใช้จึงเป็น การทำงานแบบผู้ให้บริการ/ผู้รับบริการ (Server/Client) ตามปกติ บนระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ มักซ์จะถูกนำมาใช้เชื่อมต่อเครื่องพีซีจำนวนหนึ่งเข้าด้วยกันเพื่อติดต่อไป ยังส่วนอื่นของระบบเครือข่ายผ่านสายสัญญาณเส้นเดียวที่ใช้งานร่วมกัน เรียกอุปกรณ์นี้ว่า Connection Multiplexer ส่วนในระบบเครือข่ายไร้สายนำเทคโนโลยีการผสมสัญญาณมาใช้สำหรับถ่ายทอดข้อมูล จากผู้ใช้จำนวนหนึ่งผ่านช่องสัญญาณเพียงหนึ่งช่อง
โครงสร้างการ เชื่อมต่อแบบหลายจุด (Multipoint Network) อนุญาตให้ผู้ใช้จำนวนหนึ่งสามารถใช้สายสื่อสารร่วมกันได้ แต่มีความแตกต่างจากเทคนิคการผสมสัญญาณโดยมัลติเพล็กเซอร์ คือ การเชื่อมต่อแบบนี้จะอนุญาตให้ผู้ส่งสัญญาณออกมาได้ครั้งละหนึ่งคนเท่านั้น ในขณะที่อุปกรณ์ มัลติเพล็กเซอร์สามารถส่งสัญญาณจากผู้ใช้หลายคนผ่านสายสัญญาณหนึ่งเส้นใน เวลาเดียวกัน อีกประการหนึ่งคือ เครื่องโฮสต์ในการเชื่อมต่อแบบหลายจุดจะมีจุดเชื่อมต่อการสื่อสาร (Communication Port) เพียงจุดเดียว แต่การใช้มักซ์จำเป็นจะต้องมีมักซ์อีกตัวหนึ่งทางฝั่งโฮสต์ ซึ่งแยกสัญญาณออกจากกัน ทำให้เครื่องโฮสต์จะต้องมีจุดเชื่อมต่อการสื่อสารเท่ากับจำนวนเครื่องผู้ใช้
ประการ สุดท้ายคือเครื่องของผู้ใช้ในระบบการเชื่อมต่อแบบหลายจุดจำเป็นจะต้องมีความ สามารถในการประมวลผลข้อมูล พอสมควร เช่น จะต้องสามารถตรวจสอบได้ว่าสายสัญญาณไม่ว่าง จึงยังไม่สามารถส่งข้อมูลออกไปได้ ในขณะที่เครื่องของผู้ใช้ในระบบที่นำมัลติเพล็กซ์มาใช้นั้นไม่จำเป็นจะต้อง มีความซับซ้อนใด ๆ เพราะสามารถส่งสัญญาณข้อมูลออกมาได้ในทุกเวลาที่ต้องการ มัลติเพล็กเซอร์จึงสามารถนำมาเชื่อมต่อเครื่องดัมบ์เทอร์มินอลเข้าด้วยกัน ได้
ภาพแสดงระบบเครือข่ายในองค์กรที่มีการเชื่อมต่อแบบจุด ต่อ-จุด แบบหลายจุดและการใช้มัลติเพล็กเซอร์
การรวมข้อมูลจากสายสื่อสารหลายเส้นเข้าด้วย กัน ทำให้เกิดประโยชน์ขึ้นหลายประการคือ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้สายสื่อสารให้คุ้มค่าเนื่องจากอุปกรณ์เพียงชิ้นเดียว อาจไม่ได้ใช้ประโยชน์ของสายสื่อสารเส้นนั้นอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะเทอร์มินอลทั่วไปจะทำงานเป็นพัก ๆ (Burst Mode) เวลาส่วนใหญ่จึงไม่มีข้อมูลส่งผ่านสายสื่อสาร การรวมสัญญาณจากหลายแหล่งเข้าด้วยกันเป็นการ รับประกันว่าจะมีข้อมูลส่งผ่านสายสัญญาณนี้มากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ได้มากเพราะใช้สายสื่อสารเพียงเส้นเดียวเท่านั้น สำหรับเทอร์มินอลหลายเครื่องแทนที่จะต้องใช้สายหนึ่งเส้นต่อเทอร์มินอลหนึ่ง เครื่อง
แม้ว่ามักซ์สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมากในระบบ เครือข่ายเฉพาะบริเวณ แต่มักซ์กลับถูกนำไปใช้บนระบบเครือข่ายวงกว้างมากกว่า ซึ่งจะใช้กับโครงสร้างการเชื่อมต่อแบบ จุด-ต่อ-จุดระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง เนื่องจากการรวบรวมสัญญาณจากหลายแหล่งเข้าด้วยกันเพื่อส่งออกทางสายสัญญาณ เพียงเส้นเดียวเป็นการทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้โดยตรง จึงกลายเป็นส่วนที่ผู้ใช้มองไม่เห็น
ดังนั้นความรู้สึกของผู้ใช้จึงเป็น การทำงานแบบผู้ให้บริการ/ผู้รับบริการ (Server/Client) ตามปกติ บนระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ มักซ์จะถูกนำมาใช้เชื่อมต่อเครื่องพีซีจำนวนหนึ่งเข้าด้วยกันเพื่อติดต่อไป ยังส่วนอื่นของระบบเครือข่ายผ่านสายสัญญาณเส้นเดียวที่ใช้งานร่วมกัน เรียกอุปกรณ์นี้ว่า Connection Multiplexer ส่วนในระบบเครือข่ายไร้สายนำเทคโนโลยีการผสมสัญญาณมาใช้สำหรับถ่ายทอดข้อมูล จากผู้ใช้จำนวนหนึ่งผ่านช่องสัญญาณเพียงหนึ่งช่อง
โครงสร้างการ เชื่อมต่อแบบหลายจุด (Multipoint Network) อนุญาตให้ผู้ใช้จำนวนหนึ่งสามารถใช้สายสื่อสารร่วมกันได้ แต่มีความแตกต่างจากเทคนิคการผสมสัญญาณโดยมัลติเพล็กเซอร์ คือ การเชื่อมต่อแบบนี้จะอนุญาตให้ผู้ส่งสัญญาณออกมาได้ครั้งละหนึ่งคนเท่านั้น ในขณะที่อุปกรณ์ มัลติเพล็กเซอร์สามารถส่งสัญญาณจากผู้ใช้หลายคนผ่านสายสัญญาณหนึ่งเส้นใน เวลาเดียวกัน อีกประการหนึ่งคือ เครื่องโฮสต์ในการเชื่อมต่อแบบหลายจุดจะมีจุดเชื่อมต่อการสื่อสาร (Communication Port) เพียงจุดเดียว แต่การใช้มักซ์จำเป็นจะต้องมีมักซ์อีกตัวหนึ่งทางฝั่งโฮสต์ ซึ่งแยกสัญญาณออกจากกัน ทำให้เครื่องโฮสต์จะต้องมีจุดเชื่อมต่อการสื่อสารเท่ากับจำนวนเครื่องผู้ใช้
ประการ สุดท้ายคือเครื่องของผู้ใช้ในระบบการเชื่อมต่อแบบหลายจุดจำเป็นจะต้องมีความ สามารถในการประมวลผลข้อมูล พอสมควร เช่น จะต้องสามารถตรวจสอบได้ว่าสายสัญญาณไม่ว่าง จึงยังไม่สามารถส่งข้อมูลออกไปได้ ในขณะที่เครื่องของผู้ใช้ในระบบที่นำมัลติเพล็กซ์มาใช้นั้นไม่จำเป็นจะต้อง มีความซับซ้อนใด ๆ เพราะสามารถส่งสัญญาณข้อมูลออกมาได้ในทุกเวลาที่ต้องการ มัลติเพล็กเซอร์จึงสามารถนำมาเชื่อมต่อเครื่องดัมบ์เทอร์มินอลเข้าด้วยกัน ได้
ภาพแสดงระบบเครือข่ายในองค์กรที่มีการเชื่อมต่อแบบจุด ต่อ-จุด แบบหลายจุดและการใช้มัลติเพล็กเซอร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น