04 มีนาคม 2557

รวมบทความอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่าย

ที่มารูปภาพ: http://www.buycoms.com/buyers-guide/modem/index.asp

1.โมเด็ม (Modem)

    โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับละแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร  กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation) โมเด็มทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ (Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภทโมเด็กในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Faxmodem


ที่มารูปภาพ: http://www.itdestination.com/articles/lancard1000base/
2. การ์ดเครือข่าย (Network  Adapter) หรือ การ์ด LAN
     เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่า
และควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISAและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มี Slot  ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps
ซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนัก แต่ส่งขอมูลได้เร็วกว่า นอกจากนี้คุณควรคำหนึงถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์ ของการ์ด LAN จะมีหลายแบบ เช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน



ที่มารูปภาพ: http://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/computer(10)/network/net_wan9.htm
3. เกตเวย์ (Gateway)

     เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์  2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน


ที่มารูปภาพ: http://forums.overclockzone.com/forums/showthread.php?t=417552
4. เราเตอร์ (Router)

     เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
ระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้


ที่มารูปภาพ: http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/NetWork/bridge.htm
5. บริดจ์ (Bridge)

     บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูล จากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง โดยที่บริดจ์จะไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใดๆแก่ข้อมูล บริดจ์ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายมีประสิทธิภาพลดการชนกัน ของข้อมูลลง บริดจ์จึงเป็นสะพานสำหรับข้อมูลสองเครือข่าย


ที่มารูปภาพ: http://webserv.kmitl.ac.th/~hs3lse/project/repeater.html
6. รีพีตเตอร์ (Repeater)

     รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่
ี่เริ่มเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง และสำหรับสัญญาณดิจิตัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณเพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกลๆ
เช่นกัน รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical
7.  สายสัญญาณ

     เป็นสายสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเข้าด้วยกัน หากเป็นระบบที่มีจำนวนเครื่องมากกว่า 2 เครื่องก็จะต้องต่อผ่านฮับอีกทีหนึ่ง โดยสายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครื่องในระบบเครือข่าย จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ


ที่มารูปภาพ: http://www.itcomcenter.com/tips-view.asp?id=63&forward=1
         -     สาย Coax  มีลักษณะเป็นสายกลม  คล้ายสายโทรทัศน์  ส่วนมากจะเป็นสีดำสายชนิดนี้จะใช้กับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ BNC สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 200 เมตร  สายประเภทนี้จะต้องใช้ตัว T Connector สำหรับเชื่อมต่อสายสัญญาณกับการ์ด LAN ต่างๆในระบบ และต้องใช้ตัว Terminator ขนาด 50 โอห์ม  สำหรับปิดหัวและท้ายของสาย


ที่มารูปภาพ: http://www.digitalfocus.co.th/network.php
         -     สาย UTP (Unshied  Twisted  Pair)  เป็นสายสำหรับการ์ด  LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ-45  สามารถส่งสัญญาณได้ไกล
ประมาณ 100 เมตร หากคุณใข้สายแบบนี้จะต้องเลือกประเภทของสายอีก โดยทั่วไปนิยมใช้กัน 2 รุ่น  คือ  CAT 3 กับ CAT5 ซึ่งแบบ CAT3 จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณ10 Mbps และแบบ CAT 5 จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 100 Mbps แนะนำว่าควรเลือกแบบ CAT 5 เพื่อการอัพเกรดในภายหลังจะได้ไม่ต้องเดินสายใหม่  ในการใช้งานสายนี้  สาย 1 เส้นจะต้องใช้ตัว RJ - 45 Connector จำนวน 2 ตัว  เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณจากการ์ด LAN ไปยังฮับหรือเครื่องอื่น เช่นเดียวกับสายโทรศัพท์ ในกรณีเป็นการเชื่อมต่อเครื่อง 2 เครื่องสามารถใช้ต่อผ่านสายเพียงเส้นเดียได้แต่ถ้ามากกว่า 2 เครื่อง ก็จำเป็นต้องต่อผ่านฮับ



ที่มารูปภาพ: http://it.stoulaws.com/2008/12/hub/
8.  ฮับ (HUB) 
     เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับสามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ ถึงกันได้โดยตรง  แต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่น  การ์ดมีความเร็ว  100 Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับ เครื่องใช้ในระบบ  หากจำนวนพอร์ตต่อสายไม่เพียงพอก็สามารถต่อพ่วงได้  แนะนำว่าควรเลือกซื้อฮับที่สามารถต่อพ่วงได้  เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต

02 มีนาคม 2557

[บริดจ์ (Bridges)

บริดจ์ (Bridge)  เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้แบ่งเครือข่ายออกเป็นเซกเมนต์ที่ไม่เกี่ยวข้องกันแต่ว่าถูกดูแลอยู่ภายใต้เครือข่ายเดียวกัน ซึ่งบริดจ์จำทำหน้าที่ในชั้น Data Link Layer โดยจะมองข้อมูลเป็นเฟรม ซึ่งจะแตกต่างจากฮับหรือรีพีตเตอร์ที่จะมองข้อมูลในระดับบิต นอกจากบริดจ์จะทำหน้าที่แบ่งเครือข่ายออกเป็น 2 เซกเมนแล้วยังทำหน้าที่กลั่นกรองข้อมูลให้อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน มันจะกันไม่ให้เฟรมข้อมูลนั้นไปรบกวนอีกเซกเมนหนึ่ง
หรือจะสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) บริดจ์มีใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 บริดจ์จึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่าย การติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่ง ข้อมูลแบบกระจาย (Broadcasting) ดังนั้น จึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น การรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่าย บริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพ็กเก็ตนั้นส่งให้ บริดจ์จึงเป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูล ระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่าย ของตน ไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป ในระยะหลังมีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้ เช่น อีเทอร์เน็ตกับโทเก็นริง เป็นต้น หากมีการเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่าสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเครือข่ายที่เชื่อมมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งเครือข่ายแบบ LAN และ WAN อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงคือ เราเตอร์ (Router) ดังรูปด้านล่าง
การทำงานของ Bridge
หลักการทำงานของ Bridge จะดูแลข้อมูลที่ส่งโดยพิจารณาหมายเลขของเครื่อง หรือตามศัพท์ทางเครือข่าย คือ Media Access Control (MAC Address หรือ Station Address) Bridge จะทำงานใน Data Link Layer หรือ Layer ที่ 2ของ OSI โมเดล คือ มองข้อมูลที่รับส่งกัน เป็น Packet แล้วเท่านั้น โดยไม่ต้องสนใจโปรโตคอลสื่อสารที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็น IP หรือ IPX หรือโปรโตคอลใด ๆ หรือก็คือ ไม่ว่าจะเป็น Packet อะไรส่งออกมาในเครือข่าย Bridge จะดูเฉพาะ Address ปลายทางแล้วถ้าพบว่าเป็นเครื่องที่อยู่คนละฟากกันก็จะส่งต่อให้เท่านั้น ไม่สนใจว่าการส่งให้ถึงเครื่อง ที่เป็นผู้รับปลายทางนั้นอาจทำได้หลายเส้นทางต่าง ๆ กัน
ข้อจำกัดอีกประการหนึ่งของ Bridge คือในขณะที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการส่งข้อมูลไปยังอีกเครื่องหนึ่ง แต่ไม่ทราบ Station Address จะมีการส่งข้อมูล พิเศษที่เรียกว่า Broadcast Frame เข้าไปในเครือข่าย เมื่อข้อมูลนั้นผ่านมาที่ Bridge ก็จะมีการส่งข้อมูลBroadcast นี้ต่อไปยังทุกเครือข่ายย่อยทั้งหมดที่ ตนอยู่ โดยไม่มีการเลือกหรือกลั่นกรองใด ๆ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทั้งหมดถูกขัดจังหวะเพื่อรับข้อมูลดังกล่าว ดังนั้นถ้าข้อมูลที่ Broadcast มากก็จะ ทำให้เครือข่ายมีปัญหาเรื่องปริมาณข้อมูลหนาแน่น และความเร็วในการทำงานลดลงได้
รูป ภาพแสดงลักษณะของบริดจ์

เกตเวย์(Gateways)




เกตเวย์ (Gateway)
   เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยสามารถเชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกัน และใช้สื่อส่งข้อมูลต่างชนิดกันได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ตัวอย่างเช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้สายส่งแบบ UTP เข้ากับ Token Ring LAN ได้
เกตเวย์เป็นเหมือนนักแปลภาษาที่ทำให้เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างชนิดกันสามารถสื่อสารกันได้ หากโปรโตคอลที่ใช้รับส่งข้อมูลของเครือข่ายทั้งสองไม่เหมือนกันเกตเวย์ ก็จะทำหน้าที่แปลงโปรโตคอลให้ตรงกับปลายทางและเหมาะสมกับอุปกรณ์ของฮาร์ดแวร์ที่แต่ละเครือข่ายใช้งานอยู่นั้นได้ด้วย ดังนั้นอุปกรณ์เกตเวย์จึงมีราคาแพงและขั้นตอนในการติดตั้งจะซับซ้อนที่สุดในบรรดาอุปกรณ์เครือข่ายทั้งหมด
ในการที่เกตเวย์จะสามารถส่งข้อมูลจากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่งได้อย่างถูกต้องนั้น ตัวของเกตเวย์เองจะต้องสร้างตารางการส่งข้อมูล หรือที่เรียกว่า routing table ขึ้นมาในตัวของมัน ซึ่งตารางนี้จะบอกว่าเซิร์ฟเวอร์ไหนอยู่เครือข่ายใด และอยู่ภายใต้เกตเวย์อะไร ตารางนี้จะมีการปรับปรุงข้อมูลทุกระยะ สำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นเกตเวย์อาจจะรวมเอาฟังก์ชันการทำงานที่เรียกว่า Firewall ไว้ในตัวด้วย ซึ่ง Firewall เป็นเหมือนกำแพงที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้คอมพิวเตอร์ที่อยู่นอกเครือข่ายของบริษัท เข้ามาเชื่อมต่อลักลอบนำข้อมูลภายในออกไปได้

 


 

เร้าเตอร์ (Routers)


Router

Router เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่า Bridge โดยทำงานเสมือนเครื่อง Node หนึ่งใน Lan ซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูลแล้วส่งต่อไปยังปลายทาง โดยอาจส่งในรูปของ Packet ที่ ต่างออกไป เพื่อให้ผ่านสายสัญญาณแบบอื่น ๆ เช่น สายโทรศัพท์ที่ต่อผ่านโมเด็มก็ได้ ดังนั้นจึงอาจใช้ Routerr ในการเชื่อมต่อ Lan หลายแบบเข้าด้วยกันผ่าน Wan ได้ด้วย และเนื่องจากการที่มันทำตัวเสมือนเป็น Node หนึ่งใน Lan นี้ยังทำให้มันสามารถทำงานแบบอื่น ๆ ได้อีกมาก เช่น รวบรวมข้อมูลเพื่อ หาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลต่อหรือตรวจสอบว่าข้อมูลที่เข้ามานั้นมาจากไหนควรจะให้ผ่านหรือไม่ เพื่อช่วยในการรักษาความปลอดภัย

การทำงานของ Router

สิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง Bridge กับ Router คือ Bridge คือ ทำงานในระดับ Data Link Layer คือจะใช้ข้อมูล Station Address ในการทำงานส่งข้อมูล ไปยังที่ใด ๆ ซึ่งหมายเลข Station Address นี้มีการกำหนดมาจากฮาร์ดแวร์หรือที่ส่วนของ Network Interface Card (NIC)) และถูกกำหนดมาเฉพาะตัวจากโรงงานไม่ให้ซ้ำกันถ้ามีการเปลี่ยนแปลง NIC นี้ก็จะทำให้ Station Address เปลี่ยนไปด้วย ส่วนRouter ทำงานที่ระดับสูงกว่าคือ Network Layer หรือชั้นที่ 3 ของ OSI โมเดลโดยใช้ Logical Address หรือ Network Layer Address ซึ่งคือ Address ที่ตั้งด้วยซอฟแวร์ ตามที่ผู้ใช้แต่ละเครื่องจะ ตั้งขึ้นให้โปรโตคอลในระบบ Network Layer รู้จัก ในการส่งผ่านข้อมูลโปรโตคอลของเครือข่ายชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น IP,TCP/IP หรือ Apple Talk ซึ่งจะเป็นโปรโตคอลที่ทำงานใน Network Layer นี้เช่นกัน การกำหนด Network Address ทำได้โดยผู้ดูแลระบบเครือข่ายนั้น ทำให้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลง ได้ง่าย และสามารถใช้อุปกรณ์ Router เชื่อมโยงเครือข่ายที่แยกจากกันให้สามารถส่งผ่านข้อมูลร่วมกันได้และทำให้เครือข่ายขยายออกไปได้เรื่อย 

หน้าที่หลักของ Router คือ การหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยง เครือข่ายที่ใช้สัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไม่ว่าจะเป็น Ethernet , Token Ring หรือ FDDI ทั้งๆ ที่ในแต่ละระบบจะมี Packet เป็นรูปแบบของตนเองซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IPX,TCP/IP หรือ Apple Talk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น Packet นี้เพื่อทจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด ซึ่งทำได้เพราะ Router ทำงานใน Network Layer ซึ่งเป็นระดับสูงที่พอจะเข้าใจโปรโตคอลต่าง ๆ แล้ว จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงไป Packet ของ Data Link Layer ที่ถูกต้องอีกครั้งเพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง

 

สวิตช์ (Switch)

การทำงานของ Switch
หลักการทำงานของ Switching
Switch มีหน้าที่ในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง โดยมีหลักการทำงานดังนี้ เมื่อคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกับ Switch ใน Port ที่ 1 ต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ใดๆ ในเครือข่ายแล้วนั้น คอมพิวเตอร์ตัวแรกก็จะสร้าง Frame ของข้อมูลขึ้นมาโดยจะประกอบด้วย MAC Address, IP Address ของตัวมันเอง ซึ่งเป็นผู้ส่งและ IP Address ของปลายทางคือคอมพิวเตอร์ที่ต้องการติดต่อ แต่จะยังไม่มี MAC Address ของคอมพิวเตอร์ปลายทาง นำมาประกอบกันเป็น Frame   ต่อจากนั้นจะใช้ Protocol ARP ที่มีอยู่ใน Protocol TCP/IP ในการค้นหา MAC Address ของ คอมพิวเตอร์ปลายทาง ที่มันต้องการจะติดต่อด้วย โดย Protocol ARP จะทำการ Broadcast Frame นี้ไปยังทุก Port ของ Switch เรียกว่า ARP Request เมื่อคอมพิวเตอร์ที่มี IP Address ตรงกับ IP Address ที่ต้องการติดต่อทราบ ก็จะตอบกลับว่านี่เป็น IP Address ของฉัน ก็คือคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ต้องการติดต่อ มันจะตอบกลับพร้อมกับใส่ค่า MAC Address ของมันลง ใน ARP Reply ในแบบ Broadcast ด้วย ซึ่งจะทำให้ Switch รับทราบด้วย ต่อจากนั้น Switch ก็จะทำการ Forward ข้อมูลต่างๆ ไปยัง Port ที่เป็นที่อยู่ของคอมพิวเตอร์ทั้งสองได้อย่างถูกต้อง และ Switch จะยังเก็บเอาข้อมูลของ Mac Address ต้นทางของทั้งสองเอาไว้ในตาราง Source Address Table ( SAT ) เพื่อเก็บเอาข้อมูล MAC Address กับ Port ที่ติดต่อไว้ใช้ในการสื่อสารที่จะเกิดขึ้นต่อไป


การส่ง ARP Request และ  ARP Reply ในเครือข่ายภายใน Switch ดังกล่าวจะยังคงเป็นลักษณะ Broadcasting ซึ่งจะทำ Switch ทุก Port ได้สามารถข้อมูลไปได้ด้วยเช่นกัน ทำให้เป็นช่องโหว่อันหนึ่งในการโจมตีได้ นอกจากนี้  ARP Protocol ยังไม่มีการตรวจสอบตัวตนอย่างเข้มงวด ทำให้มีผู้ที่จะปลอม MAC Address แล้วทำ Man-in-the-Middle-Attack หรือ ทำ MAC Flooding ก็ตามสามารถโจมตีเครือข่ายได้ ดังนั้น จะต้องเลือก Switch ที่มี Feature ที่คอยกำหนดจำนวนของ MAC Address ต่อ Port ได้ สำหรับ CISCO Switch จะใช้ Feature Port Security ในการกำหนดจำนวน MAC Address ต่อ Port


ในการรับส่ง Frame ข้อมูลนั้น Switch จะเลือกรับส่งข้อมูลเป็นคู่ๆ ทำให้ในเวลาเดียวกันสามารถส่งข้อมูลพร้อมกันได้หลายคู่หรือทำงานขนานกันได้ซึ่งเป็นข้อดีกว่าอุปกรณ์ Hub ที่จะต้องรอจนกว่าการรับส่งข้อมูลคู่ใดคู่หนึ่งทำงานสำเร็จจึงเริ่มมีการรับส่งใหม่ได้ หลักการส่วนหนึ่งในการเลือก Switch ให้เหมาะสมกับการทำงานมีดังนี้
1)       Switch ต้องรองรับการทำงานได้เพียงพอกับปริมาณข้อมูลและมีความเร็วในการส่งต่อที่เหมาะสม
2)       สามารถรองรับการแบ่ง VLAN ได้อย่างเพียงพอ
3)       มีขนาดของ Buffer พอสมควรก็จะทำให้ Switch มีการทำงานรับส่งข้อมูลได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด
4)       จำนวน Port ที่เพียงพอและเหมาะสมรองรับต่อการใช้งานทั้งคอมพิวเตอร์และ Up-link
5)       ประเภทที่เหมาะสมของ Switch ในตำแหน่งหน้าที่การทำงานของมันเช่น Distributed Switch, Access Switch
6)       สามารถทำ QoS และ Security ได้ในระดับที่เพียงพอต่อการใช้งาน


การใช้ Switch ในการเชื่อมต่อเครือข่ายจะเป็นการแบ่งเครือข่ายออกเป็น Multi Collision Domain (Collision Domain จะกล่าวถึงต่อไป) โดยอัตโนมัตจะทำให้ Network Computer ทำงานได้อย่างเหมาะสมเพราะ Switch จะทำการ Drop frame ที่ไม่จำเป็นต้องส่งต่อออกไปยัง Switch ตัวอื่น หากตรวจพบว่าคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ต้องการส่งอยู่ใน Switch ตัวเดียวกันแล้วก็จะเป็นการลด Traffic ใน Network ลงได้เป็นอย่างดีทีเดียว
http://conexonetworks.com/images/categories/switch_cisco_catalyst_3560.jpg
คำว่า Collision Domain คือการเชื่อมคอมพิวเตอร์จำนวนหนึ่งเข้าด้วยกัน คอมพิวเตอร์ทั้งหมดติดต่อสื่อสารกันได้และข้อมูลก็อาจจะเกิดการชนกันได้ ทำให้เกิดการรับส่งข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง การแก้ไขการชนกันของข้อมูลนั้น ต้องใช้กฏกติกาการรับส่งข้อมูลเข้ามาช่วยเช่น CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access/Collision Detect) เป็นหนึ่งในกติกานั้น ซึ่งจะคล้ายกับสัญญาณไฟจราจรที่มีการหลีกเลี่ยงกันและกันในทางแยก (สำหรับในที่นี้จะไม่กล่าวถึงรายละเอียด) Collision Domain ส่วนมากมักจะเกิดจากเชื่อมต่อเข้าหากันด้วยอุปกรณ์ Hub ซึ่งในการเชื่อมต่อ Hub ต่อกันไปเรื่อยๆ ทั้งหมดจะอยู่ใน Collision Domain เดียวกัน ดังนั้นจะทำให้มี Collision Domain ขนาดใหญ่มากทำให้มีข้อมูลวิ่งเต็มไปหมดและมีโอกาสเกิดการชนกันของข้อมูลได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการรอคอยที่ยาวนานกว่าจะสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้ทำให้ มี Switch เข้ามาทดแทนดังในปัจจุบันนั่นเอง

สายเคเบิล (Network Cables)

สายเคเบิ้ลในการเชื่อมต่อ
ในการเชื่อมต่อแบบต่างๆ จะต้องใช้สายเคเบิ้ลเป็นตัวกลาง (Media) ซึ่งการใช้งานจะขึ้นอยู่กับรูปแบบการเชื่อมต่อ เช่นแบบ Bus จะใช้สายเคเบิ้ล Coaxial, แบบ Star จะใช้สายเคเบิ้ล UTP สายเคเบิ้ลที่ใช้งานในระบบเน็ตเวิร์กจะมีอยู่ 3 ประเภทคือ

สาย Coaxial เป็นสายเส้นเดียวมีลวดทองแดงเป็นแกนกลางหุ้มด้วยฉนวนสายยาง โดยจะมีลวดถักหุ้มฉนวนสายยางอีกชั้น (shield) ป้องกันสัญญาณรบกวน และมีฉนวนด้ายนอกเป็นยาง สีดำหุ้มอีกชั้น จะมีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ อย่างหนา (thick) อย่างบาง (thin) ส่วนมากจะใช้งานบนระบบ Ethernet โดยที่ปลายสายทั้ง 2 ด้ายจะต้องมีตัว terminator ปิดด้วย มีความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำกว่าสายแบบ UTP สาย Coaxial อย่างบาง (thin) มีข้อเสียคือ ไม่สามารถใช้รับ-ส่งสัญญาณได้เกิน 185 เมตร อาจต้องใช้ตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ช่วยขยายสัญญาณให้
สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) หรือสาย CAT (Category) เป็นสายเส้นเล็กจำนวน 8 เส้นตีเกลียวคู่ มีอยู่ 4 คู่ ไม่มีเส้นลวดถัก (shield) เพราะการตีเกลียวคู่เป็นการลดสัญญาณรบกวนอยู่แล้ว การใช้งานจะต้องมีการแค๊มหัว RJ-45 เข้ากับสาย UTP แล้วนำไปเสียบเข้ากับ Hub มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 10/100Mbps ปัจจุบันนิยมใช้สาย CAT 5 กันมาก เพราะสนับสนุนการรับ-ส่งข้อมูลความเร็วตั้งแต่ 10-100 Mbps
สาย STP (Shielded Twisted Pair) เป็นสายเส้นคู่ตีเกลียวมีอยู่ 2 คู่ มีเส้นลวดถัก (shield) ป้องกันสัญญาณรบกวน ใช้งานในการเชื่อมต่อระยะทางไกลๆ ซึ่งสาย UTP ทำไม่ได้
หัวต่อสายแลนด์
หัวต่อสายแลนด์จะมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกันคือ BNC, RJ-45 และ AUI แต่ละประเภทจะใช้สายแลนด์แตกต่างกันไป รวมทั้งวิธีการเข้าหัวต่อก็ไม่เหมือนกัน

หัวต่อแบบ BNC
 จะใช้สายแลนด์แบบ Coaxial ซึ่งเป็นสายเส้นเดียวมีลวดทองแดง เป็นแกนกลาง หุ้มด้วยฉนวนสายยาง หัวต่อ BNC จะเป็นโลหะรูปวงกลมมีเกลียวสำหรับล๊อก และยังต้องใช้ตัว Terminator (มีความต้ายทาน 50 โอห์ม) ปิดปลายสายทั้ง 2 ด้ายอีกด้วย

หัวต่อแบบ RJ-45 จะใช้สายแลนด์แบบ CAT (Category) 5 หรือ สาย UTP เป็นสายเส้นเล็กจำนวน 8 เส้น ตีเกลียวคู่ มีอยู่ 4 คู่ รูปแบบในการเข้าหัวต่อแบบ RJ-45 มีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ 
1. Peer to peer 
2. มาตรฐาน TIA/EIA 568B 
Peer to peer เป็นการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 เครื่อง ด้วยสาย UTP เพียง 1 เส้น โดยเสียบหัวต่อ RJ-45 ไปที่การ์ดเน็ตเวิร์กของทั้งสองเครื่อง รูปแบบการเข้าสาย UTP กับหัวต่อ RJ-45 มีดังนี้

 
มาตรฐาน TIA/EIA 568B เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับ ฮับ รูปแบบการเข้าสาย UTP กับหัวตัว RJ-45 มีดังนี้
การเชื่อมต่อแบบ BUS
โปรโตคอล Ethernet สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งแบบ Bus โดยใช้สาย Coaxial และแบบ Star ใช้สายทองแดงคู่ดีเกลียว (สาย UTP) การเชื่อมต่อแบบ Bus จะเป็นตามมาตรฐานของ 10Base2 เป็นรูปแบบเชื่อมต่อสายโดยใช้สาย Coaxial (โคแอกเชี่ยล) มีเส้นศูนย์กลาง ? นิ้ว เรียกว่า Thin Coaxial ความยาวโดยรวมของสายทั้งหมดจากเครื่องต้นทางถึงเครื่องปลายทางต้องไม่เกิน 180 เมตร บางทีก็เรียกสาย Coaxial ว่าสาย RG-58 (มีความต้านทาน 50 โอห์ม) การเชื่อมต่อแบนี้ไม่ต้องใช้ฮับเป็นตัวกลาง ทำให้มีต้นทุนต่ำแต่ประสิทธิภาพการทำงานจะไม่ดีเท่าที่ควร วิธีการเชื่อมต่อสายระหว่างจุดต่อจะใช้ตัว T-Connector เป็นตัวกลาง และจะมีหัวต่อ BNC สำหรับต่อเข้ากับการ์ดเน็ตเวิร์ก และสิ่งสำคัญจะต้องมีตัว Terminator ปิดที่ปลายสายของทั้งสองด้าน

จากรูปที่ 2.13 ก. เป็นรูปการเชื่อมต่อสาย Coaxial เข้ากับการ์ดเน็ตเวิร์ก โดยมีตัว T-Connector เป็นตัวกลาง โดยมีความยาวของสายในแต่ละช่วงจะต้องไม่ต่ำกว่า 0.5 เมตร และมีตัว Terminator ปิดที่ปลายสายของทั้งสองด้านอีกด้วย

ปัจจุบันการเชื่อมต่อแบบ Bus ไม่เป็นที่นิยมใช้งาน เพราะมีความเร็วต่ำเพียง 10 เมกกะบิตต่อวินาทีและข้อจำกัดด้านความยาวของสาย


servers

server คืออะไร

server คือ เครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ให้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง แก่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่าย ในระบบเครื่อ ข่าย ข้อความแบบนี้อาจจะงงอยู่บ้าง สรุปอีกครั้งนะครับ Server ในทาง computer มี 3 ความหมายคือ

    - เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้ บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น
    - ระบบ ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น
    - โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการ อะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น



โดย ปรกติแล้ว โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็น Server จะทำงานบนระบบปฏิบัติการ อาจจะเป็น Linux หรือ Windows หรือ Unix ก็ได้ ดังนั้นคำว่า server จึงมิได้หมายถึง คอมพิวเตอร์ เพียงอย่างเดียวแต่ยังหมายถึงระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อีกด้วย ตัวอย่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น server ถ้าพูดถึงเราคงรู้จักกันดี แต่อาจจะไม่รู้ว่าเรียกว่า server ก็เป็นไปได้ ยกตัวอย่างเป็นกลุ่มๆ ดังต่อไปนี้
  • Web server คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการเว็บ อาทิเช่น Apache web server
  • Mail server คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการ E-mail อาทิเช่น Postfix, qmail, courier
  • DNS server คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการโดเมนเนม อาทิเช่น bind9
  • Database server คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการ Database อาทิเช่น mysql, postgresql, DB2

สำหรับระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้เป็น server ได้แก่
  • Linux สำหรับ Linux Distribution ที่ได้รับความนิยมได้แก่ Debian Ubuntu Readhat Fedora etc.
  • Windows สำหรับ Windows ที่นิยมใช้เป็น server ได้แก่ Windows Server 2003
  • Unix สำหรับ Unix ถือเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่ระบบหนึ่ง ที่ยังใช้งานอยู่จนถึงทุกวันนี้ ได้แก่ BSD
ถ้าหากพูดถึง server ก็ต้องรู้ให้แน่ก่อนว่ากำลังพูดถึงอะไรอยู่ไม่อย่างนั้นอาจจะหลงแล้วคุยไม่ รู้เรื่องเอาได้ง่ายๆ ดังนั้นอาจสรุปคร่าวๆ ได้ดังนี้
  • ถ้ามีคำ ถามว่า “ใช้อะไรเป็น server” คำถามนี้มักหมายถึงระบบปฏิบัติการ (แต่อาจจะไม่ใช่ก็ได้ต้องสอบถามดูให้มั่นใจก่อน)
  • ถ้าถามว่าใช้อะไร เป็น …  server อาทิเช่น Web server ก็หมายถึงโปรแกรมให้บริการ
  • ถ้า ถามว่าใช้ server ยี่ห้ออะไร โดยมากหมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็น server

โดยปรกติแล้วเครื่องคอมพิวเตอร์เซอร์เวอร์หนึ่ง เครื่องจะติดตั้งระบบปฏิบัติการที่ใช้เป็นเซอร์เวอร์ได้หนึ่งระบบ แต่สามารถลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการได้หลายชนิด เช่น ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องลง Linux Distribution Debian เป็นระบบปฏิบัติการ แล้วติดตั้ง Apache เป็นเว็บเซอร์เวอร์ ติดตั้ง Mysql เป็น Database server ติดตั้ง postfix เป็น mail server เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้จะทำงานพร้อมกันแต่ต่าง port กัน ถ้าอยากรู้ว่า port คืออะไรก็ต้องติดตามตอนต่อไปนะครับ

server มีกี่ประเภท

ประเภทของเซิร์ฟเวอร์ โดยปกติจะแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ File Server , Print Server , Database Server , Application Server การแบ่งออกเป็น 4 ประะเภทนั้น แบ่งตามลักษณะการใช้งาน คือ เก็บ-บริการไฟล์ บริการ/บริหาร งานพิมพ์ เก็บและบริการฐานข้อมูล และบริการ/บริหารซอฟต์แวร์ประยุกต์ ส่วน Mail Server, Internet Server หรือประเภทอื่นๆที่มีการเรียกชื่อนั้น เกิดจากการนำเอาเซิร์ฟเวอร์มากกว่า 2 ประเภทมารวมกันในตัวเดียว

File Server

เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่มีหน้าที่จัดเก็บไฟล์ โดยการจัดเก็บไฟล์จะทำเสมือนเป็นฮาร์ดดิสก์รวมศูนย์ (Centerized disk storage) เสมือนว่าผู้ใช้งานทุกคนมีที่เก็บข้อมูลอยู่ที่เดียว เพราะควบคุม-บริหารง่าย การสำรองข้อมูล การ Restore ง่าย ข้อมูลดังกล่าวสามารถ Shared ให้กับ Client ได้ โดยส่วนมากข้อมูลที่อยู่ใน 
File Server 
คือ โปรแกรมและข้อมูล (Personal Data File) โดยปกติแล้วเซิร์ฟเวอร์ไม่มีหน้าที่ต้องประมวลข้อมูลเหล่านี้ เป็นเพียงแหล่งเก็บข้อมูล กล่าวง่ายๆ ก็คือ File Server ทำหน้าเสมือน Input/Output สำหรับไฟล์
การทำงานของเซิร์ฟเวอร์ที่เป็น File Server นั้น ในทางเทคนิคแล้วยังไม่เรียกว่าเป็น “Client/Server” เพราะไม่มีการแบ่งโหลดการทำงานระหว่างไคลเอ็นต์กับเซิร์ฟเวอร์ แต่หน้าที่ที่ File Server จะต้องจัดการคือ มี NOS (Network Operating System) ที่ดูแลเกี่ยวกับการ “เข้าถึง”ไฟล์ ต้องมีกระบวน “Lock” ไว้ ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการแก้ไขไฟล์ เช่น ขณะที่ผู้ใช้งานคนที่ 1 เปิด ไฟล์ A และกำลังแก้ไข (edit) อยู่ ผู้ใช้งานคนที่สองจะเปิดไฟล์ A เพื่อแก้ไขไม่ได้ (แต่เปิดเพื่ออ่าน Read Only ได้) แต่ถ้าหากข้อมูลนั้นเป็น Database แทนที่ไฟล์หรือฐานข้อมูลทั้งฐานข้อมูลจะถูก Lock กระบวนการ Lock ก็อาจจะเกิดเฉพาะ Record (Row) นี้เป็นหน้าที่ของ NOS และ Application ที่ใช้งาน

Print Server

หนึ่งเหตุผลที่ต้องมี Print Server ก็คือ เพื่อแบ่งให้พรินเตอร์ราคาแพงบางรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับการทำงานมากๆ เช่น HP Laser 5000 พิมพ์ได้ 10 – 24 แผ่นต่อนาที พรินเตอร์ประเภทนี้ ความสามารถในการทำงานสูง ถ้าหากซื้อมาเพื่อใช้งานเพียงคนเดียว แต่ละวันพิมพ์ 50 แผ่น ก็ไม่คุ้มค่า ดังนั้นจึงต้องมีกระบวนการจัดการแบ่งปันพรินเตอร์ดังกล่าวให้กับผู้ใช้ทุกๆ คนในสำนักงาน หน้าที่ในการแบ่งปัน ก็ประกอบด้วย การจัดคิว ใครสั่งพิมพ์ก่อน การจัดการเรื่อง File Spooling เป็นของเซิร์ฟเวอร์ ที่มีชื่อว่า Print Server 
โดยส่วนใหญ่ในองค์กร น้อยองค์กรที่จะซื้อเซิร์ฟเวอร์มาเพื่อใช้สำหรับเป็น Print Server โดยเฉพาะ แต่จะใช้วิธีเอาเซิร์ฟเวอร์ที่ซื้อมาเพื่อเป็น File Server , Data Base server ทำเป็น Print Server ไปด้วย

Database Server

Database Server หมายถึง เซิร์ฟเวอร์ที่มีไว้เพื่อรันระบบที่เป็นฐานข้อมูล DBMS (DataBase Managment System ) เช่น SQL , Informix เป็นต้น โดยภายในเซิร์ฟเวอร์ที่มีทั้งฐานข้อมูลและตัวจัดการฐานข้อมูล ตัวจัดการฐานข้อมูลในที่นี้หมายถึง มีการแบ่งปัน การประมวลผล โดยผ่านทางไคลเอ็นต์

Application Server

Application Server คือ เซิร์ฟเวอร์ที่รันโปรแกรมประยุกต์ได้ด้วย โดยการทำงานสอดคล้องกับไคลเอ็นต์ เช่น Mail Server (รัน MS Exchange Server) Proxy Server (รัน Proxy Server) หรือ Web Server (รัน Web Server Program เช่น Xitami , Apache’ )